เล่าเร่ืองเมืองเชียงรายอันชวนหลงใหล ผ่านเส้นทางแห่งกาลเวลา บนท้องถนนที่สว่างไสวด้วยแสงแห่งประวัติศาสตร์
โดยใช้เส้นทางเวลา ซ้อนทับ เส้นทางถนนในเมือง นําเสนอสู่ยุคสมัยต่าง ๆ ของเวียงเจียงฮาย
บอกเล่าผ่านสถาปัตยกรรมและส่ิงแวดล้อมด้วยแสงไฟ
สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ออกแบบ โดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ เป็นสีทองประดับ ลวดลายงดงามเป็นเอกลักษณ์ และใช้เทคนิคพิเศษที่ทําให้หอนาฬิกา มีความสวยงามในยามคํ่าคืน เป็นหอนาฬิกาที่สวยที่สุดของประเทศไทย
เส้นลําแสงที่ส่ายเคลื่อนไหว พร้อมจังหวะการเดินของ เข็มนาฬิกาตามวินาที บอกเล่าถึงการ เดินทางของเวลา ที่เดินหน้า หรือเวลาที่เดินถอยหลังสู่อดีตกาล ด้วย สีเงิน ทอง นาก
ถนนสุขสถิตย์ หนึ่งในถนนย่านค้าขายสําคัญของเมือง เชียงรายยุคใหม่ ที่เชื่อมโยงวิถีชีวิต เศรษฐกิจ การคมนาคม ถือเป็นลมหายใจหนึ่งของการ เติบโตของเมือง
ยิงแสงเลเซอร์ ถักเป็นตาข่าย ลอยสุขสถิตย์เหนือ ผืนถนน สร้างคลื่นแสงเชื่อมสองเวลา สองสถานท่ี เข้าหากัน
หอนาฬิกาเก่าของจังหวัดเชียงราย เร่ิมมีการสร้างเมื่อ พ.ศ.2510 และได้ย้ายจาก ถนนบรรพปราการ หรือที่ตั้ง หอนาฬิกาเฉลิม พระเกียรติในปัจุบัน ตั้งไว้ท่ีตลาดสด เทศบาล บริเวณสามแยกโรงรับจํานํา อยู่ห่างจากจุดก่อสร้าง หอนาฬิกาใหม่ ไปประมาณ 350 เมตร โดยเป้าให้หอนาฬิกา ทั้ง 2 จุด เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของเมืองเชียงราย
แสงขาววางล้อมหอนาฬิกา อวดโฉมเวลาหนึ่งช่วงใน อดีตที่เคยเป็นตัวแทนความเจริญของ เมืองยุคใหม่
มูลนิธิสาธารณกุศลสงเคราะห์เชียงราย ตั้งอยู่ที่ถนนบร รพปราการ กิจกรรมหรืองานหลักๆ ของมูลนิธิฯ ก็เกี่ยวกับงาน สาธารณะกุศล ต่าง ๆ ช่วงเย็นก็มีรําไทเก๊ก รํามวยจีน รํากระบี่ เพื่อส่งเสริมการออก กําลังกาย อาคารศิลปะตกแต่งอย่างสวยงามตามสไตล์จีน ข้างในมีจุดไหว เทพเจ้าต่าง ๆ หลายองค์ ตามความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีน ในเมืองเชียงราย
แสงสีแดงและสีทอง ตัวแทนความมั่งค่ัง โชคดี
วัดม่ิงเมือง ชาวเชียงรายเรียก วัดจ๊างมูบ (ช้างหมอบ) หรือ วัดตะละแม่ศรี ตามช่ือผู้สร้าง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย อยู่ตรงสี่แยกขัวดํา ไม่ไกลจากหอนาฬิกา เป็นสถาปัตยกรรม ศิลปะผสมระหว่างพม่าและล้านนา วิจิตรงดงามท้ังภายในและ ภายนอก
เลือกใช้คู่สีแสงท่ีมีความต่อเนื่องและขัดแย้งกัน เพื่อขับเน้นศิลปกรรมที่ผสมผสานแปลกตา
ตึกสามชั้นทรงแปลกตา ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นอาคารแนวโมเดิร์นของ ธนาคารแห่งหนึ่งของเมือง เชียงรายในยุค 80s
ไฟนีออนที่ไม่ใช่สิ่งส่องสว่าง แต่ได้รับการใช้งานและจัดวางเป็น งานศิลปะและเป็นเอกลักษณ์ ที่สําคัญหนึ่งของยุคสมัย
แมงสี่หูห้าตา เป็นชื่อสัตว์ประหลาดตัวหน่ึงในตํานานว่าด้วย วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว มีลักษณะเหมือนหมีสีดําตัวอ้วน มีหูสองคู่และตาห้าดวง รับประทานถ่านไฟร้อนเป็นอาหาร และถ่ายมูลเป็นทองคํา แมงสี่หูห้าตา ยังเคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นมาสคอต กีฬา แห่งชาติ ครั้งที่ 36 "เจียงฮายเกมส์" อีกด้วย
หุ่นโคมไฟแมงสี่หูห้าตา ขนาดใหญ่ ในท่ากําลัง ปีนต้นก้ามปูยักษ์ หน้าอาคารเทิดพระเกียรติฯ
วัดพระแก้ว ถนนไตรรัตน์ ใจกลางเมืองเชียงราย วัดนี้เป็นสถานที่ แรกที่ได้ค้นพบ พระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ตามประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 1897 ในสมัย พระเจ้าสามฝั่งแกน เป็นเจ้า ครองเมืองเชียงใหม่ ฟ้าได้ผ่าเจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้ พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายใน เจดีย์ ต่อมาจึงได้พบว่าเป็น พระพุทธรูปสีเขียวที่สร้างด้วยหยก ซึ่งก็คือ พระแก้วมรกตนั่นเอง
ติดตั้งเคร่ืองยิงเลเซอร์ วาดภาพพระแก้วมรกต ประกอบไฟแสงสีเขียว ย้อนรําลึกถึงการค้นพบ พระแก้วมรกตเป็นแห่งแรก
ศาลากลางจังหวัดเชียงราย เป็นสถาปัตยกรรมที่มีอายุกว่า 116 ปี เป็นหลักฐานทางประวัติศาสต ร์ที่ช่วยอธิบายความเป็น มาเป็นไปของสังคมเชียงรายสมัยนั้นได้ดีย่ิง เริ่มก่อสร้างและเปิด ดําเนินการเม่ือ ปี พ.ศ. 2443 ปัจจุบันอาคารศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังเก่า ได้ขึ้นทะเบียน โบราณสถานของกรมศิลปากร ตามประกาศราชกิจจานุ เบกษา ลงวันท่ี 16 สิงหาคม 2520 ยุติบทบาทในการเป็นอาคาร ศูนย์กลางการปกครองหัวเมืองเชียงรายมานานกว่า 1 ศตวรรษ
Concept Motion I Chiang Rai, Wiang of Light เล่าถึงท่ีมาของแนวคิดของการจัดงาน นําเสนอเส้นทางการชม ทั้ง 15 จุดแสงในเมือง
บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย อาคารโบราณอายุ 103 ปี เรียกกันในชื่อบ้าน มิชชันนารี OMF บ้านสิงหไคลฯ มีเป้าหมายในการเป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านสถาปัตยกรรมและ เรื่องของภัยพิบัติ รวมท้ังเป็นจุดเชื่อมต่อไปสู่เรื่องราวทางศิลปะ โดยมีการจัด แสดงงานศิลปะ และยังเป็นพื้นท่ีในการ จัดกิจกรรมทางด้านสังคมและศิลปะ วัฒนธรรมให้กับประชาชน เพื่อร่วมส่งเสริมให้เชียงรายเป็น เมืองท่ีน่าอยู่ และ เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคล่ือนเชียงรายเมืองศิลปะ
ใช้แสงอาบฉาบผิวบ้านด้านนอก และใช้แสงส่องออกมาจากภายในตัวบ้าน ผ่านช่องหน้าต่าง เพื่ออวดสัดส่วนการออกแบบบ้านอันสวยงาม และตกแต่งรอบบ้านด้วยไฟเม็ดถั่ว
หอประวัติเมืองเชียงราย เป็นส่วนหนึ่งภายในศูนย์วัฒนธรรมนิ ทัศน์และพิพิธภัณฑ์เมืองเชียงราย ๗๕๐ ปี โดยการปรับปรุง อาคาร หอประชุมเม็งรายอนุสรณ์เดิม จัดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทาง ด้านภูมิหลังของท้องถิ่น พัฒนาการทางสังคม ประวัติศาสตร์ ศิลป วัฒนธรรม จารีตประเพณี
ตกแต่งแสงอาคารด้านนอกด้วยไฟหลากสี เพื่อเชื้อเชิญให้เข้าชม นิทรรศการภายในอาคาร
ตู้โทรศัพท์สาธารณะหยอดเหรียญ คืออีกหนึ่งของประวัติศาสตร์ การสื่อสารของคนเชียงราย ท่ีเปล่ียนผ่านไปอย่างไม่มีวันหวนคืน จัดวางไว้ยังหน้าบ้านพักข้าราชการคลัง ริมถนนอันเงียบเหงา
ติดต้ังแสงภายในตู้โทรศัพท์ คืนชีวิตด้วยสีสันต่ืนเต้นชวนมอง
เลือกใช้กลุ่มต้นไม้ใหญ่บริเวณริมถนนสิงหไคล เป็นตัวแทนความ อุดมสมบูรณ์ของผืนป่า การรักษาระบบนิเวศ และความยั่งยืนร่วม กันของคนเชียงรายกับป่าไม้
ติดต้ัง Mirror Ball บนยอดไม้ แล้วยิงแสงกระทบใส่ สร้างซีนแสงแปลกตา
สวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ75พรรษา เดิมคือพ้ืนที่เรือนจําโบราณต้ังอยู่ ใจกลางย่านการค้ าเทศบาลนครเชียงราย มีอายุเก่าแก่มากว่า 100 ปี ต่อมามี โครงการให้ย้ายเรือนจําออกไป และ ปรับพ้ืนที่จนกลายเป็นลานสาธารณะ เป็นปอด แห่งใหม่ใจกลางนครเชียงราย โดยสวนบางส่วนถูก ปรับให้เป็นสวนหย่อม
ประติมากรรมดอกพวงแสดส่องแสง ประกอบฉากแสงสีส้ม สื่อแสดงถึงสวนสาธารณะกลางเมือง โดยใช้ดอกพวงแสด ดอกไม้ประจําจังหวัดเชียงราย เป็นตัวเล่าเรื่อง
โบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียงเชียงราย ได้รับสถาปนาเป็นคริสตจักร เม่ือวัน ที่ 13 เมษายน ค.ศ.1890 โดยไม่มีการก่อสร้างอาคารพระวิหาร ในปี ค.ศ. 1910 – 1911 นายแพทย์วิลเลี่ยม เอ บริกส์ จึงรวบรวมเงินจากผู้ ศรัทธาถวายได้เงินจํานวนหนึ่ง เพื่อซื้อท่ีดินสร้างอาคารพระวิหาร ต้ังอยู่ บริเวณประตูเมืองเชียงราย ท่ีเรียกว่า “ประตูสลี” ซึ่งเป็นที่ตั้งคริสตจักร ในปัจจุบัน
การต่อสู้กันระหว่างแสงและเงา
เพียงแค่คุณแท็กเพื่อนที่อยาก
ชวนไปงานแสงเวียงท่ีเชียงรายด้วยกัน!
งานนี้เราแจกถึง 20 รางวัล
ร่วมสนุกกับกิจกรรมได้ทาง
Facebook/GoNorthThailandรับ คูปอง มูลค่า 500 บาท ใช้ภายในงานวิจิตร 5 ภาค@เชียงราย
ร่วมแชร์ร้านอาหารเจ้าเด็ดในจังหวัดเชียงราย
มาร่วมสนุกกับกิจกรรม ลุ้นรับคูปองเงินสด มูลค่า 500 บาท
ใครทายถูกก็มีสิทธิ์ลุ้นรับคูปองเงินสด มูลค่า 500 บาท
สำหรับผู้ที่ตอบคำถามถูก เตรียมลุ้นรับคูปองเงินสด มูลค่า 500 บาท
ที่จะพาทุกคนทัวร์แสงเวียงทั้ง 15 จุด